วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พระดีน่ากราบ เมืองอยุธยา

พุทธะบูชา มหาเตชะ วันโต
ธัมมะบูชา มหาปัญโญ
สังฆะบูชา มหาโภคะวาโห ติโลกะนาถัง อภิปูชะยามิ

พระปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ ต้องหาโอกาส ไปกราบท่านกันครับ...วันนี้ธรรมะสวัสดี มีเมล์บอกกล่าว เล่าผ่านกรุ๊ปธรรมะสวัสดี มาฝากกันครับ


http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=5449&st=0






ชีวประวัติ

หลวงพ่ออุดม อุตตมปัญโญ (พระครูวิชัยกิจจารักษ์) เจ้าอาวาสวัดพิชัยสงคราม
ตำบลกะมัง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา




เด็กชายอุดม ลัดดา เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2479 ปี ชวด ที่แพ ตำบลไผ่ลิง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรคนโตของคุณพ่อบัว ลัดดา คุณแม่ชั้น ลัดดา มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คน ตามลำดับดังนี้
คนแรก หลวงพ่ออุดม อุตตมปัญโญ (พระครูวิชัย กิจจารักษ์)

คนที่ 2 นางปราณี พงษ์สุวรรณ์
คนที่ 3 ว่าที่ร้อยตรีสุนทร ลัดดา
คนที่ 4 นางปรีดา เดียวตระกูลวัฒน์
คนที่ 5 นายวิชัย ลัดดา


เริ่มการศึกษา


เมื่อ อายุเข้าสู่วัยเรียน ได้ศึกษาเล่าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัติพระญาติการาม จากนั้นติดตามคุณพ่อ คุณแม่ไปอยู่อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่วัดอุโลม มีพระอาจารย์เยื้อนเป็นครูใหญ่
จาก นั้นติดตามคุณพ่อ คุณแม่มาอยู่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลับมาเรียนที่โรงเรียนพระญาติการามอีก มีครูเทียม ประเสริฐ เป็นครูใหญ่ จนจบชั้นประถมปีที่ 4 เข้าเรียนต่อมัธยมศึกษาชั้นปีที1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่โรงเรียนสุนทรวิทยา มีครูสุทัศน์ (เสมอใจ) สัมผวผล เป็นครูใหญ่
เมื่อ จบมัธยมศึกษาปีที่ 3 ไปสอบเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนท่าไม้ท่าวาสุกรี (วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบัน) เรียนอยู่ได้ประมาณ5 เดือนเกิดเจ็บป่วยรักษาอย่างไรก็ไม่ดีขึ้น จึงขอลาพักการเรียน 7 วันแล้วจะกลับมาเรียนใหม่


เข้าสู่ร่มกาสวพัสตร์


หลัง จากลารักษาสุขภาพ อายุครบ 15 ปี คุณแม่ไปบนหลวงพ่อโต (พระพุทธไตรรัตนนายก วัดพนัญเชิง) ว่าถ้าหายป่วยอาการที่ไม่ทราบสาเหตุจะบวชเณรถวาย 7 วัน หลังจากนั้นก็หายป่วยเด็ดขาด
คุณแม่จึงนำเด็กชายอุดม ลัดดา เข้าบรรพชาเป็นสามเณรกับท่านพระครูศีลกิตตคุณ (หลวงพ่ออั้น) วัดพระญาติการาม เมื่อ วันที่ 6 สิงหาคม2494 เมื่อบรรพชาแล้วโยมแม่จึงนำสามเณรอุดมมาฝากให้อยู่กับพระอาจารย์ต่วน วัดกล้วย อำเภอพระนครศรีอยุธยา
เมื่อบรรพชาครบ 7 วัน สามเณรอุดม มีความมุ่งมั่น มีจิตศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนา ไม่คิดกลับไปเรียนด้านวิชาสามัญ โยมแม่จึงตัดสินใจให้ลาออกจากโรงเรียนช่างไม้ท่าวาสุกรี สามเณรอุดม จึงหันมาเอาดีด้านธรรมะ โดยได้ศึกษาหาความรู้ ศึกษาเล่าเรียน ตั้งใจบำเพ็ญบุญกุศล ไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิ ภาวนา อยู่เป็นนิจ


การศึกษาทางธรรม


พ.ศ. 2494 (อายุ 15 ปี)
เรียนกัมมัฏฐาน กับท่านอาจารย์จาบ สุวรรณ สำนักเรียนกัมมัฏฐาน วัดประดู่ทรงธรรม (ซึ่งมีศักดิ์เป็นตาแท้ๆ ของสามเณรอุดม ลัดดา)
พ.ศ. 2495 (อายุ 16 ปี)
เรียนนักธรรมตรี ที่สำนักเรียนวัดสุวรรณดาราราม สอบได้นักธรรมตรี ในสนามหลวง
พ.ศ.2496 (อายุ 17 ปี)
เรียนนักธรรมโท ที่สำนักเรียนวัดสุวรรณดาราราม สอบได้นักธรรมโท ในสนามหลวง
พ.ศ. 2499 (อายุ 20 ปี)
เรียนนักธรรมชั้นเอก ที่สำนักเรียนวัดสุวรรณดาราราม สอบได้นักธรรมชั้นเอก ในสนามหลวง
เมื่ออายุครบ 20 ปี บริบูรณ์
สามเณรอุดม ลัดดา ด้วยจิตที่แน่วแน่มั่นคง ตัดสินใจสละความสุข ความสนุกสนาน บอกโยมพ่อ โยมแม่ ขออุปสมบทตามรอยพระพุทธองค์ โดยมี
หลวงพ่อพระครูศีลกิตติคุณ (หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม) เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอธิการทองคำ ปิยกโร วัดพิชัยสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอาจารย์เฉลิม เขมทัสสี วัดพระญาติการาม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 เวลา 16.05 น. ได้รับฉายา อุตตมปัญโญแปลว่าผู้อุดมไปด้วยสติปัญญา จำพรรษาวัดกล้วย ตำบลกระมัง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ครั้นถึงปลายปี พ.ศ. 2502 คณะกรรมการวัดพิชัยสงคราม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้กราบอาราธนานิมนต์จำพรรษา วัดพิชัยสงคราม เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2502 โดยได้รับความเมตตาจากพระอธิการทองคำ ปิยกโร เจ้าอาวาสวัดพิชัยสงคราม
จน ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 พระอธิการทองคำ ปิยกโร ได้ลาสิกขาบท คณะกรรมการวัดพิชัยสงครามจึงมีมติให้พระอุดม อุตตมปัญโญ รับหน้าที่ปกครองสงฆ์ วัดพิชัยสงคราม ต่อมาภายหลังได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดพิชัยสงคราม สืบมาจนถึงปัจจุบัน


ด้านการปกครอง


15 กรกฎาคม พ.ศ.2509

- รักษาการแทนเจ้าอาวาส วัดพิชัยสงคราม
24 กันยายน พ.ศ. 2511

- ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดพิชัยสงคราม ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญบัตรชั้นโท ได้รับพระราชทินนาม พระครูวิชัยกิจจารักษ์


ด้านการศึกษา


พ.ศ. 2509 -2550

- เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมและคุมสอบธรรมศึกษา
- สอนธรรมนวกภูมิ คุมสอบและตรวจข้อสอบธรรมนวกภูมิ
พ.ศ. 2538 – ปัจจุบัน

- ตั้งทุนและสนับสนุนพระภิกษุ-สามเณร ในการศึกษาธรรมนอกภูมิและธรรมศึกษาตลอดมา
พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน

- สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม เปิดสอนนักธรรมชั้นตรี และนักธรรมชั้นโท


ด้านงานเผยแพร่พระพุทธศาสนา


พ.ศ. 2534 – ปัจจุบัน

- ตั้งหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล และเป็นประธานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล
- ให้ความรู้ ให้ธรรมะแก่เยาวชน ประชาชนทุกวันธรรมสาวนะ วันพระ และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
- ให้คำปรึกษาเยาวชน ประชาชนทั่วไป


ด้านสาธารณูปการ


พ.ศ. 2510

- เทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กรอบอุโบสถ
- สร้างใบเสมารอบอุโบสถ
- ทาสีอุโบสถ ติดดาวฝ้าเพดาน
พ.ศ. 2511

- ถมดินทำถนนเข้าวัด
- ถมดินหลังศาลาการเปรียญ
พ.ศ. 2512

- ปลูกกุฏิใหม่ 1 หลัง 4 ห้อง
พ.ศ. 2513

- สร้างฌาปนสถาน (เมรุเผาศพ)
พ.ศ. 2514

- เทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กรอบฌาปนสถาน (เมรุเผาศพ)
- สร้างสุขา 8 ห้อง (ข้างหอระฆัง)
พ.ศ. 2515

- สร้างกุฏิใหม่ 1 หลัง 4 ห้อง
พ.ศ. 2516

- สร้างกุฏิใหม่ 1 หลัง
พ.ศ. 2517 – 2518

- สร้างศาลาเอนกประสงค์ 1 หลัง
พ.ศ. 2519 – 2521

- สร้างกุฏิ 2 หลัง พร้อมบูรณปฏิสังขรณ์กุฏิเก่า
- สร้างศาลาสวดหน้าไฟ 1 หลัง
พ.ศ. 2522

- สร้างกุฏิ 2 ชั้น 1 หลัง (กุฏิเจ้าอาวาส)
พ.ศ. 2524

- สร้างหอสมุด 1 หลัง
- เทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก เชื่อมต่อหมู่กุฏิ กุฏิเจ้าอาวาส หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ
พ.ศ. 2526

- สร้างหอสวดมนต์ 1 หลัง
- สร้างหอพระ 1 หลัง
พ.ศ. 2528

- ปูกระเบื้องหน้าฌาปนสถาน (เมรุเผาศพ)
พ.ศ. 2529

- สร้างหอฉันและห้องรับแขก
พ.ศ. 2530

- ปรับปรุงทัศนียภาพรอบๆวัด
พ.ศ. 2531

- สร้างเขื่อนคอนกรีตยาว 120 เมตร
พ.ศ. 2532

- ทำแนวรั้วบนสันเขื่อนรูปใบเสมา ยาว 120 เมตร
พ.ศ. 2533

- สร้างศาลาการเปรียญคอนกรีตเสริมเหล็กคู่กับศาลาการเปรียญหลังเดิม
พ.ศ. 2534

-บูรณปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญหลังเดิม
พ.ศ. 2535

- ปรับปรุงกุฏิทุกกุฏิ (ปูกระเบื้องหน้ากุฏิทุกกุฏิ)
พ.ศ. 2536

- ปูกระเบื้องระเบียง กุฏิเจ้าอาวาส หอสวดมนต์
พ.ศ. 2537

- เทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กลานวัด
พ.ศ. 2539

- สร้างตำหนักสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และจัดภูมิทัศน์รอบๆตำหนัก
พ.ศ. 2540

- ปรับปรุงทัศนียภาพรอบๆวัด
พ.ศ.2545

- ปูกระเบื้องรอบอุโบสถ
พ.ศ. 2546

- สร้างศาลารอยพระพุทธบาทจำลอง พระประจำวัน
พ.ศ.2547

- แกะสลักบานประตู หน้าต่าง ลงลายทอง อุโบสถ
พ.ศ. 2548

- กรุผนังอุโบสถใต้บานหน้าต่างด้วยไม้แดงรางลิ้น ใส่ลายเฟื้อง
พ.ศ. 2549

- สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม 2 ชั้น 1 หลัง
- สร้างห้องสุขา ชาย-หญิง รวม 10 ห้อง
พ.ศ. 2550

- เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง ด้านหน้าผจญมาญ ด้านหลังไตรภูมิ ด้านข้างเทพชุมนุมพร้อมพัดยศ ผนังอุโบสถเขียนภาพพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตั้งแต่พระราช สมภพจนถึงขั้นขึ้นครองราชย์สมบัติ รวม 10 ภาพ
พ.ศ. 2551

- สร้างศาลาเกียรติคุณ 1 หลัง
พ.ศ. 2552

- สร้างศาลาอเนกประสงค์ 1 หลัง
- ทำรั้วคอนกรีต ซุ้มพระรอบอุโบสถ 5 ชั้น
- ทาสีซุ้มพระ 9 ชั้น
- ทำฟุตบาททางเท้าหลัง สันเขื่อน ยาว 120 เมตร

ธรรมะจากตะกรุดสาลิกา และการใช้ปริศนาธรรมเพื่อเจริญพระกรรมฐาน

(ทวนปริศนาธรรม สาลิกาอยู่เป็นคู่ ตัวหนึ่งอยู่ ตัวหนึ่งไป ? ถูกไหมครับ)
อ่า นั่นแหละ ตัวหนึ่งอยู่ ตัวหนึ่งไป ลมพุทธ หายใจเข้า โธลมออก
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ภาวนาพุทธ หายใขเข้า โธออก
พุทโธ พุทโธนี้ถ้าหากเป็นวิปัสสนาญาณหมายถึงว่า ภาวนาจนกระทั่งจิตรวมนิ่งแล้ว
มัน จะเกิดนิมิต เรียกว่าอุคหนิมิต จะเป็นอะไรก็แล้วแต่ เกิดขึ้น ในเมื่อเกิดขึ้นให้กำหนดว่า นี้เกิดแล้ว นี่เกิดเสร็จเรียบร้อย ไอ้ที่เกิดขึ้นนี้แหละ มันจะหายไป จะเคลื่อนหายไป แล้วกำหนดว่านี้ดับ เกิดดับ เกิดดับ นี้เข้าสู่วิปัสสนา
(นี่ก็ย้อนเข้าสู่ร่างกายเรา) เหมือนกัน เปรียบเหมือนกัน
(หลวงพ่อทำกี่ปีจึงมั่นใจ) โอ้ หลายปีคุณหมอ
(มั่นใจอย่างไร) เราก็เชื่อแน่ว่า เอ่อ เราก็เป็นอย่างนี้
(ถึง10 ปีไหม) กว่า อาตมาเรียนมาตั้งแต่สมัยอยู่เป็นเณร กรรมฐานนี้นะ เรียนกับตา (อาจารย์จาบ)
ไม่ได้เรียน(กับหลวงพ่อต่วน)
(อาจารย์จาบสอนเรื่องพระเครื่อง-วัตถุมงคล ?) ไม่ได้สอน สอนกรรมฐานอย่างเดียว ได้เรียนกรรมฐานอย่างเดียว
(กับวิชารักษาโรคกระดูกหัก) อ่านั่นแหละ
(อาจารย์จาบ รักษากระดูกหัก ประสานทันทีไหม) อ่า ทันทีเลย


บทส่งท้าย ที่หลวงพ่อฝากถึงพวกเรา


ข้อ สำคัญ หนึ่ง ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติ ขอให้ตั้งในศีลในธรรม ตั้งอกตั้งใจปฏิบัตินะ หนึ่งมีศีล สองมีสมาธิ สามปัญญาเกิด ก่อนอื่นรักษาศีลก่อน
(วันละชั่วโมงได้ไหม ?) ก็ได้ หนึ่งศีล เมื่อมีศีลแล้ว สมาธิเกิด พอสมาธิเกิด ปัญญาเกิด ตามขั้นตอน
(ข้อแนะนำในทางโลก) ในทางโลก อย่างน้อยมีศีลไว้
(ถ้ามีวัตถุมงคลหลวงพ่อ ปลุกด้วยอะไรดี ?) มันดีเหมือนกันคุณหมอ ให้ระลึกนึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ไว้
(ถ้าท่องยาก พุทโธคำเดียวได้ไหม ?) ได้ พุทโธ ธัมโม สังโฆ แค่นี้
(แม้แต่มหาระงับยากๆ พุทโธคำเดียว ?) ได้ แล้วเราก็ตั้งจิตอธิษฐาน

การขึ้นพระกรรมฐาน

ถวายดอกไม้ธูปเทียนกับหลวงพ่อ แล้วหลวงพ่อแนะนำดังนี้

วิธีการเจริญพระกรรมฐาน

ก่อน อื่นหลังจากเราทำวัตรสวดมนต์เรียบร้อยแล้วนะ ก็เริ่มนั่งพระกรรมฐาน เอามือขวาทับมือซ้ายเท้าขวาทับเท้าซ้าย ตั้งตัวให้ตรง เสร็จเรียบร้อยแล้ว อาราธนาองค์แห่งพระกรรมฐานคือ
อุกาสะ ข้าพเจ้าขออาราธนาปิติเจ้าทั้ง 5 คือขุทกาปิติ ขณิกาปิติ โอกันติกาปิติ ผรณาปิติ อุเพงคาปิติ จงมาบังเกิดในกายทวาร มโนทวาร แห่งข้าพจ้าผู้เข้านั่งพระกรรมฐานในกาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
อุกาสะ ข้าพเจ้าขออาราธนาพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า จงมาบังเกิดในกายทวาร จักขุทวาร มโนทวาร แห่งข้าพเจ้าผู้เข้านั่งพระกรรมฐานในกาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า คุณศีล คุณทาน คุณกาลภาวนา ที่ข้าพเจ้าได้สร้างสมอบรมมา หมื่นชาติ แสนชาติ และในปัจจุบันชาตินี้ก็ดี ขอให้ข้าพเจ้าได้สำเร็จมรรคผลในกาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

จะใช้พุทธหายใจเข้า โธออก พุทโธ หรือจะใช้สัมมาอรหังก็ได้ ได้ทั้ง 2 อย่าง
(กำหนดใจที่ไหน) อยู่ปลายจมูก พุทโธ พุทโธ พุทโธ
(มาพบหลวงพ่อไม่ได้ สมาทานกับพระพุทธรูปได้ไหม ?) ได้
ภาวนาพุทโธ พุทโธ หรือจะใช้สัมมาอรหังก็ได้ แล้วแต่เราจะคัดสรรเอา
นี้ถ้าหากว่าจิตมันยังแกว่ง ยังไม่สงบ ให้เพ่งพระพุทธรูปเป็นอารมณ์
ให้ลืมตาเพ่งพระพุทธรูป แล้วก็หลับตาภาวนา จนกระทั่งพระพุทธรูปปรากฏในตาใน จิตจะได้เป็นสมาธิ

ท่านที่ต้องการ file เสียงของหลวงพ่อ mp3 การเจริญพระกรรมฐาน และ ความรู้ทั่วไปและกรรมฐานจากตะกรุดสาลิกา
ให้แจ้งความประสงค์ไปที่ benzizz_time@hotmail.com จะจัดส่งให้ทาง mail

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โหวดแล้วคุณจะไม่โสด
14 กุมภาพันธ์ จำจนวันตาย
  โหวตให้หน่อยนะครับ...จุ๊บๆ