จิตวิทยาความรัก
ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับ ความรัก
ภาวะ...”กาฝาก”
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความรัก ที่พบบ่อยที่สุดอย่างหนึ่ง คือ ..
“ถ้ารักกันแล้ว...เราขาดกันไม่ได้"
ยกตัวอย่าง...กรณีที่เราจะพบเสมอ
ทันทีที่รู้ว่า คน(ที่เรา)รัก จากไปสู่ที่ชอบ..ที่ชอบ
คือ..ไปอยู่กับ "คน" ที่เขาชอบมากกว่า "เรา"
และที่ชอบของเขา เป็นที่ไม่ชอบของเรา
ไม่ว่าหญิงหรือชายจะเกิดอาการ กินไม่ได้นอนไม่หลับ ..จะเป็นจะตาย ..
หลายราย ถึงกับสำเร็จความตายด้วยตนเอง คิดว่า เป็นการบูชาความรัก
ตัวอย่าง .. คนไข้สาวรายหนึ่ง
แฟนหนุ่ม มีอันต้องจำพรากจากไป...อยู่กับสาวอื่นแทน
เธอพรอดพร่ำ รำพัน ต่อหน้าจิตแพทย์
"หนูไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกแล้ว หนูอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีเขา"
[เธอลืมไปว่า..ก่อนที่จะมีเขา... เธอก็ยังมีชีวิตอยู่ได้]
"หนูรักเขามากค่ะ...คุณหมอคงเข้าใจใช่ไหมคะ ว่าหนูรักเขามากแค่ไหน"
ถ้อยคำมากมาย พรั่งพรูจากปากของเธอ
"คุณเข้าใจผิดเสียแล้วล่ะครับ.. คุณไม่ได้รักแฟนคุณหรอก"
จิตแพทย์พูดบ้าง หลังจากฟังมานาน
"คุณหมอ หมายความว่ายังไง ...
ก็หนูเพิ่งพูดไปแหม่บๆ ว่า ถ้าขาดเขาเสียแล้ว ชีวิตของหนูก็อยู่ไม่ได้”
น้ำเสียงเธอ แสดงความไม่พอใจ..
จิตแพทย์พยายามอธิบาย “สิ่งที่คุณพูดมาทั้งหมด..
ไม่ได้เรียกว่า ความรักหรอกครับ เขาเรียกว่า ภาวะกาฝาก
ตราบใดที่คุณยังต้องพึ่งใครสักคน เพื่อความอยู่รอดของคุณ ..
คุณก็ทำตัวเหมือนพยาธิในลำไส้ของเขา...
มันทำให้ชีวิตคุณ ไม่มีทางเลือก และขาดอิสรภาพ
มันกลายเป็น.. ภาวะจำเป็น..มากกว่า..ความรัก"
คนไข้สาวช็อค...ไปชั่วขณะ
นึกว่าจะได้รับคำปลอบใจ ที่มีคุณภาพสูงกว่าที่เคยได้จากเพื่อนๆ ....
แต่หมอยังพูดต่อ... ทั้งๆ ที่คนไข้กำลังนั่งนิ่งตะลึง ด้วยความงง ..
เหมือนจงใจ "ซ้ำเติม" ...แต่นำปัญญา..สู่จิตอันขลาดเขลา
"ความรักที่แท้..ต้องมีอิสรภาพ... คนสองคนจะรักกันได้...
ก็ต่อเมื่อ..เขาทั้งสอง สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ตามลำพัง อย่างไม่เป็นทุกข์
แต่เขาทั้งสอง ก็เลือกที่จะใช้ชีวิตร่วมกัน เพื่อความสุขที่มากขึ้น"
เธอใช้เวลาตั้งสติพักหนึ่ง...
สีหน้าเริ่มสงบ ...คิ้วขมวดเริ่มผ่อนคลาย
รอยยิ้มน้อยๆ ปรากฏที่มุมปาก.. ก่อนเปล่งวาจา ..
"คำพูดของคุณหมอ เปรียบเสมือนแสงตะวัน...
ที่สาดส่อง ทะลุทำลาย กำแพงเมฆหมอก ของดิฉัน...
-------------
จิตแพทย์ที่กล้าพูดเตือนสติ แทนการพูดปลอบใจท่านนี้ ....คือ Dr.Scott Peck ...
ซึ่งได้เขียนบรรยายเหตุการณ์เรื่องนี้ ในหนังสือขายดีชื่อ …The Road Less Traveled
ซึ่งท่านได้ให้แนวคิดเรื่อง.. "ภาวะพึ่งพิง" (Dependency)
ไว้ด้วยความหมายว่า ...
เป็นภาวะ ที่เราไม่สามารถดำเนินชีวิต...
โดยปราศจาก การดูแลเอาใจใส่ จากบุคคลอื่น
ปดติเราอาจต้องพึ่งพิง ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
ในเวลาที่เราได้รับบาดเจ็บ หรือกำลังป่วย
แต่หากเรามีสุขภาพร่างกายที่ดีแล้ว...
ยังต้องพึ่งพิงผู้อื่นทางจิตใจ..เพื่อช่วยให้เราเป็นสุข
แสดงว่า... สุขภาพทางจิตของเรา กำลังย่ำแย่ เจ็บป่วย หรือบาดเจ็บ
เวลาที่ผ่านไป.. จะช่วยเยียวยาบาดแผล ให้สมานจนหายสนิท ...
พร้อมภูมิต้านทานทางใจ ที่มากขึ้น
---------------
คนที่มีสุขภาพจิตดี...
จะให้ความรักแก่ตัวเองเป็น และดำเนินชีวิตได้ โดยไม่ต้องพึ่งพิงใคร
แต่ อาจพึ่งพาอาศัยกันได้ เพราะคนเรา ไม่ได้เก่ง หรือทำเป็นหมดทุกอย่าง
แต่ ถ้าคุณถึงขั้น.. "ขาดเขาไม่ได้"
จงอย่าเอาคำว่า ... "รักเขามากเหลือเกิน" … มาลวงหลอกใจตัวเอง
ยิ่งต้องถึง..คิดฆ่าตัวตาย... ยิ่งแสดงว่า ..."แม้แต่ตัวเอง ...ก็ยังไม่รัก"
หลายคนคิดว่า..ถ้าฉันฆ่าตัวตายจะทำให้เขารู้สึกผิดกับการกระทำของเขาที่ทิ้งเราไป...
คิดเอาว่า.."เขาจะต้องเสียใจ..ไปตลอดชีวิต" คิดอย่างนี้...ส่วนใหญ่ มักตายฟรี
ปัจจุบัน..ผู้หญิงไทยมีการศึกษา มีการงานและความสามารถไม่แพ้เพศชาย ...
ไม่จำเป็นต้องอาศัยเพศชายเป็นผู้นำของชีวิต เหมือนหญิงไทยสมัยโบราณ...
ผู้หญิงทั้งหลาย จึงสามารถใช้ชีวิตด้วยตนเองได้ อย่างมีความสุข..
และภาคภูมิใจ..ในเกียรติของผู้หญิง
และหากได้พบชายใด ที่เราเห็นว่า ทำให้ชีวิตเรา มีความสุขมากขึ้น..
และดีขึ้น กว่าการอยู่คนเดียว ... คุณก็อยู่ในฐานะ ที่มีโอกาสเลือก...
ไม่ใช่ จำเป็นต้องเลือก... หรือ..จำใจเลือกเขา...มาเป็นคู่ชีวิต
-------------
ขอกล่าวทวนประโยคเดิม...
ที่จิตแพทย์ Dr.Scott Peck พูดกับคนไข้...
"Love is the free exercise of choice.
Two people love each other only
when they are quite capable of living
without each other
but choose to live with each other"
...
ที่มา forwarded email
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น