วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

ข้อสอบปลายภาค วิชา Financial Planning and Control


ข้อสอบปลายภาค วิชา Financial Planning and Control (MGMG 507)

ภาคเรียนที่ 1 ปี 2548

ผู้สอน  ดร.ชาญ  สรณาคมน์

 

(คะแนนข้อสอบปลายภาค = 30% ของคะแนนรวม)

(ข้อสอบมีทั้งหมด 5 ข้อ  ให้ทำทุกข้อ  แต่ละข้อมีคะแนนเท่ากัน)

 

คำสั่ง

1.      อนุญาตให้นักศึกษานำตำรา  เอกสารต่าง ๆ และเครื่องคิดเลขเข้าห้องสอบได้  แต่ไม่อนุญาตให้หยิบยืมสิ่งของต่าง ๆ เหล่านั้นระหว่างกันในระหว่างการสอบ

2.      ห้ามใช้ฟังก์ชั่นเครื่องคิดเลขในเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่

3.      ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องมือสื่อสารทุกชนิดระหว่างการสอบ  (ห้ามใช้ PDA และ Notebook ทุกชนิดด้วย)

4.      อ่านโจทย์ให้ดี  ตอบให้ตรงประเด็นคำถาม  อย่าปล่อยคำตอบให้ว่าง  ตรวจกระดาษคำตอบให้ดีก่อนส่ง

5.      ห้ามออกนอกห้องสอบระหว่างการสอบไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น  ยกเว้นแต่จะได้ส่งคืนกระดาษคำตอบและสละสิทธิ์ที่จะทำข้อสอบต่อ

 

 

ข้อที่ 1.  จากที่ได้เรียนมาในวิชานี้  จงสรุปว่า  บริษัทในประเทศไทยควรจะใช้ Debt หรือไม่และควรจะใช้ Debt มากน้อยแค่ไหนเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ของเงินทุนทั้งหมดของบริษัท?

แนวทางการตอบ

ถ้ากฎหมายกำหนดให้หักดอกเบี้ยเป็นค่าใช้จ่าย เช่น กรณีธุรกิจในประเทศไทย  บริษัทควรจะใช้ Debt เพื่อใช้ประโยชน์จาก Leverage  แต่การจะตอบว่าบริษัทจะต้องใช้ Debt เป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของเงินทุนของบริษัท  ตรงนี้อาจจะตอบให้แน่ชัดลงไปไม่ได้  แต่หลักการตัดสินใจว่าธุรกิจควรจะมี Debt เท่าไรควรจะขึ้นอยู่กับการเปรียบเทียบระหว่าง costs of debt กับ benefits of debt ตามทฤษฎี Trade-off Theory  หลังจากนั้นผู้บริหารจะได้อัตราส่วนของหนี้ต่อทุน (Debt/Capital) ที่เหมาะสม  แต่ผู้บริหารอาจจะเลือกไม่กู้เต็มจำนวน แต่กู้ให้ต่ำกว่าอัตราหนี้ที่เหมาะสม และสำรองความสามารถในการกู้ (reserve debt capacity) เอาไว้หน่อยเผื่ออนาคตจำเป็นต้องกู้จะได้มีความสามารถในการกู้เหลือ  เพราะถ้ากู้เต็มจำนวนตามอัตราของหนี้ที่เหมาะสมแล้วอาจจะทำให้ไม่สามารถกู้หนี้ได้อีกในอนาคตหรืออาจต้องจ่ายดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางการเงินที่จะตามมา

ข้อที่ 2.  การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินคืออะไร?  มีประโยชน์อย่างไร?  และมีข้อพึงระวังอย่างไรบ้าง?

แนวทางการตอบ

การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน คือ การนำรายการต่าง ๆ ทางบัญชีตั้งแต่ 2 รายการมาคำนวณ (บวก ลบ คูณ หาร) เพื่อให้ได้ตัวเลขค่าหนึ่งที่เป็นตัวเลขที่บอกสถานะการณ์ของบริษัทและให้ข้อมูลสำหรับใช้ในการตัดสินใจ

ข้อดี คือ เป็นตัวเลขที่เข้าใจได้ง่าย  เป็นมาตรฐานเดียวกัน  ทำให้สามารถเปรียบเทียบธุรกิจกับธุรกิจถึงแม้ขนาดกิจการหรือลักษณะธุรกิจอาจจะแตกต่างกัน  ทำให้เราทราบแนวโน้มว่าธุรกิจมีแนวโน้มดีขึ้นหรือแย่ลง (โดยเปรียบเทียบกับตัวเองในอดีต) และทำให้เราทราบว่าเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน (โดยเปรียบเทียบกับค่า benchmark หรือ ค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม) เราทำได้ดีแค่ไหน

ข้อพึงระวัง คือ

1.      ต้องระวังว่าสูตรที่ใช้ในการคำนวณตัวเลขอาจมีความแตกต่างกัน

2.      จำนวนวันที่ใช้อาจแตกต่างกัน  (เช่น บางธุรกิจอาจใช้สูตรที่กำหนดให้ 1 ปี มี 360 วัน หรือ 365 วัน)

3.      การคิดค่าเสื่อมราคา (แบบเส้นตรง หรือ แบบอื่น)

4.      การคิดต้นทุนราคาสินค้า (FIFO หรือ LIFO)

5.      ธุรกิจที่นำมาเปรียบเทียบด้วยมีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงไร หรือว่าแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงซึ่งจะทำให้การเปรียบเทียบทำไม่ได้หรือไม่มีความหมาย

 

ข้อที่ 3.  การบริหารเงินสด ลูกหนี้การค้า และสินค้าคงคลังมีหลักการคล้ายๆ กัน  หลักการที่ว่านั้นคืออะไร?  อธิบายและให้เหตุผลประกอบ

แนวทางการตอบ

การบริหารเงินสด ลูกหนี้การค้า และสินค้าคงคลังมีหลักการคล้ายๆ กัน คือ  ผู้บริหารควรจะมีสินทรัพย์หมุนเวียนเหล่านี้ (เงินสด ลูกหนี้การค้า และสินค้าคงคลัง) ไม่น้อยและไม่มากจนเกินไป  การมีสินทรัพย์หมุนเวียนเหล่านี้น้อยเกินไปหรือมากเกินไปก็ไม่ดี  เพราะว่าสินทรัพย์หมุนเวียนเหล่านี้มีทั้ง cost และ benefit  ซึ่งเราต้อง balance ระหว่าง cost กับ benefit

ยกตัวอย่างเช่นกรณีเงินสด  cost ของการมีเงินสดมากเกินไปคือได้ผลตอบแทนต่ำ  ผู้บริหารควรลดปริมาณเงินสดลงหรือนำไปลงทุนในสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์อื่น ๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น  แต่การมีเงินสดมากๆ ก็มี benefit คือ ทำให้บริษัทมีสภาพคล่องสูง  สามารถทนรับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ได้ดีขึ้น  ผู้บริหารของแต่ละกิจการต้องตัดสินใจว่าในกิจการของตนต้องมีเงินสดเท่าไรจึงจะไม่น้อยเกินไปหรือว่ามากเกินไป  เป็นต้น

ข้อที่ 4.  เราเรียนกันแต่ binomial option pricing model โดยที่ราคาหุ้นในอนาคตนั้นเป็นไปได้ 2 ค่า คือมากกว่าราคาหุ้นตอนเริ่มต้นหรือน้อยกว่าราคาหุ้นตอนเริ่มต้น  ถามว่า  ถ้าหากราคาหุ้นในอนาคตเป็นไปได้ 2 ค่าตามแบบ binomial model แต่เป็นค่าที่มากขึ้นกว่าราคาหุ้นตอนเริ่มต้นทั้งสองกรณี  เราจะยังใช้ binomial option pricing model ได้อยู่หรือไม่?  (อาจยกตัวอย่างมาประกอบคำตอบ  พิจารณาเฉพาะ call option ก็พอ)

แนวทางการตอบ

ยังใช้ binomial option pricing model ได้อยู่  ดูจากตัวอย่างต่อไปนี้

ราคาหุ้นในปัจจุบัน          ราคาหุ้นในอนาคต          Payoff ของ Call Option

                                                110                              10

                                                105                                5

100

กำหนดให้ Strike Price = 100 และ risk-free rate = 6%

ถ้าใช้วิธี Replicating Portfolio เพื่อหามูลค่าของ Call Option จะได้

Option Delta = (10-5)/(10-5) = 1 หุ้น

จำนวนเงินที่ต้องกู้ = (110-10)/1.06 = 94.34

มูลค่าของ Call Option = (1 หุ้น)*(100) 94.34 = 5.66 บาท                                 เท่ากัน

ถ้าใช้วิธี Risk-neutral Valuation เพื่อหามูลค่าของ Call Option จะได้

Probability of stock going up = (0.06-0.05)/(0.1-0.05) = 0.2

มูลค่าของ Call Option = (0.2*10+0.8*5)/1.06 = 6/1.06 = 5.66 บาท

 

ข้อที่ 5.  จงใช้ข้อมูลงบการเงินข้างล่างนี้  เพื่อตอบคำถามว่า บริษัทนี้จะต้องใช้เงินจากแหล่งเงินทุนภายนอกจำนวนเท่าไร  พร้อมกับจัดทำ Pro Forma Financial Statements สำหรับปี 2005 ด้วยการเติมตัวเลขลงในช่องที่แรเงา  โดยใช้สมมุติฐานดังต่อไปนี้

1.      บริษัทคาดว่าจะมียอดขายในปี 2005 เท่ากับ 2,200 ล้านบาท

2.      Variable costs ยังคงเป็นร้อยละ 80 ของยอดขาย  และ Fixed costs ยังคงเท่าเดิม

3.      ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์คิดเป็นร้อยละ 10 ของสินทรัพย์ถาวรสุทธิตอนต้นปี

4.      บริษัทจะไม่ลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มเติม

5.      บริษัทจะรักษาอัตราส่วน Net Working Capital-to-Sales ให้อยู่ที่ร้อยละ 30 ในปี 2005

6.      บริษัทจะจ่ายเงินปันผล 2 ใน 3 ของผลกำไร

7.      หนี้ระยะยาวมีอัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 12  และดอกเบี้ยที่บริษัทต้องจ่ายเท่ากับอัตราดอกเบี้ยคูณยอดเงินคงค้างตอนเริ่มงวดบัญชี

8.      ถ้าบริษัทมีความจำเป็นจะต้องใช้เงินจากแหล่งเงินทุนภายนอก  บริษัทจะใช้การกู้ Long-term ทั้งหมด

 

งบกำไรขาดทุน  บริษัท XYZ จำกัด  (หน่วย: ล้านบาท)

 

 

2004

Sales

1,785

Fixed costs

53

Variable costs (80% of sales)

1,428

Depreciation

80

EBIT

224

Interest (12% of beginning balance)

24

Tax (40%)

80

Net income

120

 

งบดุล  บริษัท XYZ จำกัด  (หน่วย: ล้านบาท)

 

 

2004

2003

Assets:

 

 

    Net working capital

400

340

    Net fixed assets

800

680

Total net assets

1,200

1,020

 

 

 

    Long-term debt

240

204

    Equity

960

816

Total liabilities and equity

1,200

1,020

 


Sources & Uses of Funds  บริษัท XYZ จำกัด  (หน่วย: ล้านบาท)

 

 

2004

Sources:

 

Net income

120

Depreciation

80

     Operating cash flow

200

Issues of long-term debt

36

Issues of equity

104

Total sources

340

 

 

Uses:

 

     Investment in net working capital

60

     Investment in fixed assets

200

     Dividends

80

Total uses

340

 


แนวทางการตอบ

บริษัท XYZ จำกัดต้องกู้เงินจากแหล่งเงินทุนภายนอกเป็นจำนวน 124.36 ล้านบาท  และบริษัทนี้จะมีงบการเงินในปี 2005 ดังที่เห็นข้างล่างนี้

 

งบกำไรขาดทุน  บริษัท XYZ จำกัด  (หน่วย: ล้านบาท)

 

 

2005

2004

Sales

2,200

1,785

Fixed costs

53

53

Variable costs (80% of sales)

1,760

1,428

Depreciation

80

80

EBIT

307

224

Interest (12% of beginning balance)

28.8

24

Tax (40%)

111.28

80

Net income

166.92

120

 

งบดุล  บริษัท XYZ จำกัด  (หน่วย: ล้านบาท)

 

 

2005

2004

2003

Assets:

 

 

 

    Net working capital

660

400

340

    Net fixed assets

720

800

680

Total net assets

1,380

1,200

1,020

 

 

 

 

    Long-term debt

364.36

240

204

    Equity

1,015.64

960

816

Total liabilities and equity

1,380

1,200

1,020

 


Sources & Uses of Funds  บริษัท XYZ จำกัด  (หน่วย: ล้านบาท)

 

 

2005

2004

Sources:

 

 

Net income

166.92

120

Depreciation

80

80

     Operating cash flow

246.92

200

Issues of long-term debt

124.36

36

Issues of equity

0

104

Total sources

371.28

340

 

 

 

Uses:

 

 

     Investment in net working capital

260

60

     Investment in fixed assets

0

200

     Dividends

111.28

80

Total uses

371.28

340

 

--

ข้อสอบครูชำนาญการพิเศษ 
ข้อสอบครูผู้ช่วย,สอบบรรจุครูผู้ช่วย,แนวข้อสอบครูผู้ช่วย,สอบครูผู้ช่วย,แนวข้อสอบครูผู้ช่วย,ครูผู้ช่วย,ข้อสอบบรรจุครู,ข้อสอบครูชำนาญการพิเศษ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โหวดแล้วคุณจะไม่โสด
14 กุมภาพันธ์ จำจนวันตาย
  โหวตให้หน่อยนะครับ...จุ๊บๆ